โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร

สะเก็ดเงินคือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังแดง เป็นผื่นหนาคัน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่หัวเข่า ข้อศอก ลำตัวและหนังศีรษะ

สะเก็ดเงินคือโรค (เรื้อรัง)ระยะยาวท่รักษาไม่หายขาด ลักษณะโรคจะวนเป็นวงจรไปเรื่อยๆ อาจมีอาการอยู่ราวสองสามสัปดาห์หรือหลายเดือน จากนั้นก็จะเบาบางลงชั่วขณะหรืออาจเข้าสู่ช่วงพักจากโรคไม่มีอาการ การรักษาเป็นสิ่งที่จะเข้ามาช่วยในการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น และรวมไปถึงเรื่องพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับมือกับการเผชิญปัญหาเพื่อจะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคสะเก็ดเงินให้ได้ดียิ่งขึ้น

โรคสะเก็ดเงินมีหลายชนิด คือ:

●     โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาหรือปื้นหนา เป็นชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด สะเก็ดเงินชนิดนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง หนาเป็นแผ่นแดง (รอยโรค) ที่คลุมด้วยสีเงิน ผื่นหนานี้อาจจะคันหรือกดเจ็บ อาขปรากฏให้เห็นไม่มากหรือมากได้ มักพบได้บริเวณข้อศอก หัวเข่า แผ่นหลังช่วงล่างและหนังศีรษะ

●     สะเก็ดเงินที่เล็บ สะเก็ดเงินชนิดนี้จะส่งผลกับเล็บมือและเล็บเท้า ทำให้เล็บเป็นหลุม การเจริญเติบโตของเล็บผิดปกติและมีสีผิดเพี้ยนไป สะเก็ดเงินที่เล็บอาจทำให้เล็บร่อนและแยกตัวออกจากฐานเล็บ (ปลายเล็บร่น) ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เล็บผุแตก

●     สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก ชนิดนี้มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่น ส่วนมากเกิดจากการถูกกระตุ้นโดยการติดเชื้อแบคทีเรียเช่น คออักเสบ รอยผื่นจะเป็นจุดขนาดเล็ก ขึ้นเป็นผื่นที่บริเวณลำตัว แขนหรือขา

●     สะเก็ดเงินชนิดเกิดตามข้อพับ มักเกิดขึ้นที่ผิวหนังตามขาหนีบ ก้นและหน้าอก สะเก็ดเงินชนิดข้อพับจะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นเรียบและแดง และจะยิ่งอาการแย่ลงเมื่อมีการเสียดสีและโดนเหงื่อ การติดเชื้อราก็อาจกระตุ้นให้เกิดสะเก็ดเงินชนิดนี้ได้

●     สะเก็ดเงินชนิดที่มีตุ่มหนอง เป็นชนิดที่พบได้ไม่บ่อยนัก สะเก็ดเงินชนิดนี้จะทำให้ผิวหนังมีตุ่มหนองใสเกิดขึ้นกระจายเป็นวงกว้าง (แบบตุ่มหนองกระจายทั่วตัว) หรืออาจเกิดขึ้นในพื้นที่เล็กๆบนฝ่ามือหรือฝ่าเท้า

●     สะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงลอกทั้งตัว เป็นสะเก็ดเงินชนิดที่พบได้น้อยมาก สะเก็ดเงินชนิดนี้จะเกิดผื่นแดงและหลุดลอกขนาดใหญ่ทั่วทั้งตัว ส่งผลให้เกิดอาการคันและเจ็บอย่างรุนแรง

●     ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการข้อบวม เจ็บซึ่งเป็นรูปแบบของโรคข้ออักเสบ บางครั้งอาจเกิดอาการที่ข้อเป็นอย่างแรกหรือเป็นอาการหรือสัญญานเดียวเท่านั้นของสะเก็ดเงินชนิดนี้ อาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรงมาก และสะเก็ดเงินชนิดข้ออักเสบนี้จะส่งผลกระทยได้กับข้อต่อทุกข้อ ทำให้ข้อแข็งและเสียหาย ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ข้อเสียหายถาวร

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

หากคุณสงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคสะเก็ดเงิน ให้ไปพบแพทย์และปรึกษาแพทย์หากพบว่าสะเก็ดเงินของคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

●     เริ่มมีความรุนแรงหรือเริ่มกระจายตัว

●     ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและเจ็บปวด

●     ทำให้คุณเป็นกังวลเกี่ยวกับผิวหนังที่ปรากฏให้เห็น

●     นำไปสู่ปัญหาเรื่องข้อ เช่นมีอาการปวด บวมหรือไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้

●     การรักษาไม่ทำให้อาการดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

ทุกคนสามารถเป็นโรคสะเก็ดเงินได้ทุกคน ปัจจัยต่อไปนี้สามารถดพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้เช่น:

●     ประวัติครอบครัว :โรคนี้เป็นโรคเกิดขึ้นในครอบครัวได้ หากพบว่ามพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นสะเก็ดเงิน นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน และยิ่งหากพบว่าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ความเสี่ยงก้จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น

●     ความเครียด : เพราะความเครียดส่งผลต่อระบบภูมิต้านทาน ระดับความเครียดสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสะเก็ดเงิน

●     การสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสะเก็ดเงินเท่านั้น แต่อาจทำให้โรคมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย การสูบบุหรี่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาเบื้องต้นของโรค

ภาวะแทรกซ้อน

หากคุณเป็นโรคสะเก็ดเงิน คุณอาจมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในการเกิดโรคอื่นๆ เช่น:

●     ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ในข้อหรือบริเวณรอบๆข้อแข็งและบวม

●     โรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคตาแดง เปลือกตาอักเสบและม่านตาอักเสบ

●     โรคอ้วน

●     โรคเบาหวานชนิดที่ 2

●     ความดันโลหิตสูง

●     โรคหัวใจและหลอดเลือด

●     โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเองอื่นๆ เช่น โรคเซลิแอค โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งและโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่เรียกว่าโรคโครห์น

●     โรคทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะการพึงพอใจในตัวเองต่ำและภาวะซึมเศร้า

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/psoriasis/understanding-psoriasis-basics

●     https://www.healthline.com/health/psoriasis

●     https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/psoriasis/ss/slideshow-psor-overview

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *